เมนู

อรรถกถามธุปิณฑิกสูตร


มธุปิณฑิกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาวนํ ได้แก่ ป่าที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มี
ใครปลูก ต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ ไม่เหมือนป่าเกี่ยวกับป่าที่
ปลูกแล้ว และยังไม่ได้ปลูกในเมืองเวสาลี. บทว่า ทิวาวิหาราย ได้แก่
เพื่อประโยชน์แก่การทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน. บทว่า เวลุวลฏฺฐิกาย
ได้แก่ ต้นมะตูมหนุ่ม. บทว่า ทณฺฑปาณิ คือ ทรงถือไม้เท้าเพราะความ
เป็นผู้ทุรพลด้วยชราก็หาไม่. เพราะทัณฑปาณิศากยะนี้ ยังเป็นหนุ่มเทียว
ดำรงอยู่ในปฐมวัย แต่ทรงถือไม้เท้าทองคำ เพราะความที่มีจิตในไม้เท้าเทียวไป
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ทัณฑปาณิ. บทว่า ชงฺฆาวิหารํ ได้แก่ เดินเล่น
เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยของแข้ง. บทว่า อนุจงฺกมมาโน คือกำลังเสด็จ
เที่ยวข้างโน้น และข้างนี้ เพื่อประโยชน์แก่การทรงชมสวน ชมป่า และชม
ภูเขา เป็นต้น. ได้ยินว่า ทัณฑปาณิศากยะนั้น เมื่อจะเสด็จออกไป
ก็เสด็จออกในบางเวลาเท่านั้น เที่ยวไป. บทว่า ทณฺฑโมลุพฺภา
ความว่า ทรงยันไม้เท้า คือวางไม้เท้าข้างหน้า เหมือนเด็กเลี้ยงโค วางพระ
หัตถ์ทั้งสองไว้บนปลายไม้เท้า ทรงแนบหลังพระฝ่าพระหัตถ์ ไว้กับพระหณุ
แล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. บทว่า กึวาที ได้แก่ ทรงมีความเห็น
อย่างไร. บทว่า กิมกฺขายิ คือ ตรัสบอกอย่างไร. พระราชานี้ไม่ทรงไหว้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำสักว่า ปฏิสันถานเท่านั้น แล้วทูลถามปัญหา
แต่ก็ทูลถามโดยความจำใจ เพราะความที่ไม่ประสงค์จะรู้. นัยว่าพระราชานี้
ทรงเป็นพวกของพระเทวทัต เพราะเหตุไร. เพราะพระเทวทัตแตกในพระ-

ตถาคตผู้เสด็จมาสู่สำนักของพระองค์. ได้ยินว่า พระเทวทัตนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
พระสมณโคดมมีเวรกับตระกูลพวกเรา ไม่หวังความเจริญแก่ตระกูลพวกเรา
แม้พระภคินีของเรา สมควรเสวยสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ พระนางละสมบัติ
นั้นย่อมเสื่อมเสีย เพราะฉะนั้น สมณโคดมจึงเสด็จออกทรงผนวชทรงรู้ว่า
แม้พระภาคิไนยของเรา จักเป็นหน่อพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ไม่ทรงยินดีกับความ
เจริญของตระกูลพวกเรา ทรงคิดว่า นั้นย่อมเสื่อมเสีย จึงทรงยังให้พระ-
ภาคิไนยแม้นั้นให้บรรพชาในเวลายังเป็นเด็กนั้นเทียว ส่วนเราเว้นจากภาคิไนย
นั่น ก็ไม่อาจจะเป็นไป จึงได้ออกบวชตาม ตั้งแต่วันบวช ก็ไม่ทรงมองดู
เราแม้ผู้บวชอย่างนี้ ด้วยดวงพระเนตรตรง ๆ และแม้เมื่อตรัสในท่ามกลางบริษัท
ก็เหมือนประหารด้วยคำเท็จมากหลาย เช่นตรัสว่า เทวทัตเป็นสัตว์อบายดังนี้
เป็นต้น. พระราชาแม้นี้ ถูกพระเทวทัตยุยงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงทรง
กระทำดังนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสคำที่สมควรแก่พระ-
ราชานั้น. ด้วยพระดำริว่า เราจักตรัสบอกแก่พระราชานั้น โดยประการที่
พระราชานี้ไม่อาจเพื่อจะตรัสว่า พระสมณโคดมจะไม่ตรัสบอกปัญหาที่เราทูล
ถามและโดยประการที่ไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิต จึงตรัสว่า ยถาวาที โข
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เกนจิ โลเก วิคฺคยฺห ติฏฺฐติ
ความว่า ไม่ทำคำโต้เถียง คือไม่ทะเลาะกันผู้ใดผู้หนึ่งในโลก. จริงอยู่
พระตถาคตย่อมไม่ทรงทะเลาะกับชาวโลก แต่ชาวโลก ครั้นตรัสว่า ไม่เที่ยง
ก็กล่าวว่า เที่ยง เมื่อตรัสว่า ทุกข์ อนัตตา ไม่งาม ก็กล่าวว่า งาม ชื่อว่า
ทะเลาะกับพระตถาคต ดังนี้. ด้วยเหตุนั้นเที่ยว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไม่ทะเลาะกับชาวโลก แต่ชาวโลกทะเลาะกับเรา ธรรมวาทีย่อมไม่ทะเลาะ
กับใคร ๆ เช่นกัน แต่อธรรมวาทีย่อมทะเลาะ ดังนี้. บทว่า ยถา ได้แก่
โดยการณ์ใด. บทว่า กาเมหิ คือ วัตถุกามบ้าง กิเลสกามบ้าง. บทว่า

ตํ พฺราหฺมณํ ได้แก่ พราหมณ์ผู้ขีณาสพนั้น. บทว่า อกถํกถึ ได้แก่
ปราศจากความสงสัย. บทว่า ฉินฺนกุกฺกุจฺจํ คือ ชื่อว่า ตัดความคะนอง
ได้แล้ว เพราะความที่ความคะนองเกี่ยวกับความเดือดร้อน และความคะนอง
มือและเท้าตัดขาดแล้ว. บทว่า ภวาภเว ได้แก่ ในภพแล้วภพอีก หรือภพ
เลวประณีต. จริงอยู่ ภพอันประณีตถึงแล้วซึ่งความเจริญเรียกว่า อภพ.
บทว่า สญฺญา ได้แก่ กิเลสสัญญา. กิเลสทั้งหลายนั้นเทียว ท่านกล่าวแล้ว
โดยชื่อว่า สัญญาในที่นี้ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายในบทนี้อย่างนี้ว่า กิเลส-
สัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้มีปกติ
กล่าวความดับจากโลกทั้งหลายโดยการณ์ใด และเราย่อมกล่าวการณ์นั้น ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่พระองค์เป็นพระขีณาสพด้วยประการฉะนี้.
บทว่า นิลฺลาเฬตฺวา คือ นำลิ้นออกเล่น. บทว่า ติวิสาขํ ได้แก่ 3 รอย.
บทว่า นลาฏิกํ ความว่า หน้าผากย่น ทรงแสดงรอยย่น 3 สายในหน้าผาก
ทำหน้าผากย่น. บทว่า ทณฺฑโมลุพฺภา ได้แก่ ยันไม้เท้า. บทว่า
ทณฺฑมาลุพฺภ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ถือแล้วหลีกไป. บทว่า อญฺญตโร
ได้แก่ ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อ.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นฉลาดในการเชื่อมเนื้อเรื่อง ครั้นเมื่อพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสว่า เจ้าทัณฑปาณิไม่ทรงรู้โดยประการใด เราจะแสดงโดยประการ
นั้น จึงถืออนุสนธิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสปัญหาที่ไม่พึงรู้ว่าเป็นอย่างไร
หนอแล จึงทูลขอพระทศพลด้วยคิดว่า เราจักทำปัญหานี้ให้ปรากฏแก่พระ-
ภิกษุสงฆ์ ลุกจากอาสนะทำอุตตรสงค์เฉลี่ยงบ่า ประคองอัญชลีที่รุ่งเรืองด้วย
นิ้วทั้งสิบ จึงกราบทูลว่า ข้อแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติ
ตรัสอย่างไรเป็นต้น. บทว่า ยโตนิทานํ นั้นเป็นภาวนปุงสกลิงค์ อธิบายว่า
ครั้น เมื่อการณ์ใดมีอยู่ด้วยการณ์ใด. บทว่า สํขา ในบทว่า ปปญฺจสญฺญา-

สํขา นั้น ได้แก่ส่วน. บทว่า ปปฺจสญฺญา ได้แก่ สัญญาอันประกอบ
ด้วยเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ. อนึ่ง เครื่องเนิ่นช้านั้น
เทียว ตรัสด้วยชื่อว่า สัญญา เพราะฉะนั้น ในบทนี้จึงมีอธิบายอย่างนี้ว่า
ส่วนแห่งเครื่องเนิ่นช้า. บทว่า สมุทาจรนฺติ คือ ย่อมเป็นไป. บทว่า
เอตฺถ เจ นตฺถิ อภินนฺทิตพฺพํ ความว่า ครั้นการณ์กล่าวคืออายตนะสิบสอง
ใดมีอยู่ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำ ถ้าแม้อายตนะหนึ่ง อัน
บุคคลพึงเพลิดเพลิน พึงยึดถือ พึงกล้ำกลืน ไม่มีในการณ์นั้น. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า อภินนฺทิตพฺพํ ความว่า พิงเพลิดเพลิน ว่าเรา ของเรา.
บทว่า อภิวทิตพฺพํ ได้เเก่ พึงกล่าวว่า เรา ของเรา. บทว่า อชฺโฌสิตพฺพํ
ได้แก่ ประกอบการที่กล้ำกลืน กลืนแล้ว ให้จบสิ้นแล้ว พึงถือเอา. ทรง-
แสดงความไม่เป็นไปแห่งตัณหาเป็นต้น นั้นเที่ยวในที่นี้ ด้วยบทนั้น. บทว่า
เอเสวนฺโต คือ ความที่การเพลิดเพลินเป็นต้นไม่มีนี้เทียว เป็นที่สุดแห่ง
อนุสัยทั้งหลาย มีราคานุสัย เป็นต้น. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ใน
ทัณฑาทานเป็นต้น บุคคลจับท่อนไม้ด้วยเจตนาใด เจตนานั้นชื่อว่า ทณฺฑา-
ทานํ
แปลว่า การจับท่อนไม้ บุคคลจับศาสตราด้วยเจตนาใด เจตนานั้น ชื่อว่า
สตฺถาทานํ แปลว่า เจตนาถือศาสตรา การถือผิด การทะเลาะอันถึงที่สุด
การโต้เถียงอันถึงการถือต่าง ๆ การวิวาทอันถึงวาทะต่าง ๆ. บทว่า ตุวํ ตุวํ
ได้แก่ แม้วาจาว่า มึง มึง อันเป็นไปแล้วอย่างนี้. การทำความส่อเสียด ชื่อว่า
เปสุญฺญํ แปลว่า การส่อเสียด. วาจาที่กระทำการพูดเท็จที่มีสภาวะไม่เป็นความ
จริงนั้น พึงทราบว่า มุสาวาท. บทว่า เอตฺเถเต ความว่า อกุศลธรรม
อันลามกเหล่านี้ในเพราะอายตนะสิบสองนั้น. จริงอยู่ กิเลสทั้งหลายแม้เมื่อจะ
เกิดขึ้น ย่อมเกิดเพราะอาศัยอายตนะสิบสอง แม้เมื่อจะดับก็ย่อมดับในเพราะ
อายตนะสิบสองเช่นเดียวกัน. กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นในที่ใด ก็ย่อมดับใน

ที่นั้น ด้วยประการฉะนี้. เนื้อความนี้นั้น พึงแสดงด้วยสมุทยสัจจปัญหา.
จริงอยู่ ท่านกล่าวว่า ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อ
ดับ ย่อมดับในที่ไหน ดังนี้แล้ว จึงกล่าวความเกิดขึ้น และความ
ดับแห่งตัณหานั้น ในเพราะอายตนะสิบสอง โดยนัยมีอาทิว่าปียรูป สาตรูป
ในโลกใด ตัณหานั่นเมื่อเกิด ย่อมเกิดในปียรูป สาตรูปนั้น เมื่อดับ
ย่อมดับในปียรูป สาตรูปนั้น ปียรูป สาตรูป ในโลกคืออะไร
คือ จักษุเป็นปียรูป สาตรูปในโลก ดังนี้ ตัณหาเกิดขึ้นแล้วในอายตนะ
สิบสอง อาศัยนิพพานก็ดับไป แต่เพราะไม่มีความครอบงำในอายตนะทั้งหลาย
ท่านกล่าวว่า ดับแล้วในเพราะอายตนะทั้งหลายนั้นเทียวฉัน ใด อกุศลธรรม
อันลามกแม้เหล่านี้ พึงทราบว่า ย่อมดับในเพราะอายตนะทั้งหลาย ฉันนั้น
อนึ่ง ความไม่มีแห่งความเพลิดเพลินเป็นต้นนี้ใด ท่านกล่าวว่าเป็นที่สุดแห่ง
อนุสัยทั้งหลายมีราคานุสัยเป็นต้น อกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายย่อมดับโดย
ไม่เหลือในนิพพานอันมีโวหารที่ได้แล้วว่า เอตฺเถเต ราคานุสยาทีนํ อนุ-
โต
ก็สิ่งใดไม่มีในนิพพานใด สิ่งนั้นเป็นอันชื่อว่าดับแล้วในนิพพานนั้น. เนื้อ
ความนี้นั้น พึงแสดงด้วยนิโรธปัญหา. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวแล้วเป็นอาทิ
ว่า วิตกวิจาร วจีสังขารของภิกษุนั้นผู้เข้าถึงทุติยฌาน ย่อมสงบระงับ. บทว่า
สตฺถุเจว สํวณฺณิโต คือ ผู้อันพระศาสดาเทียว ทรงสรรเสริญแล้ว. แม้
คำนี้ว่า วิญฺญูนํ เป็นสัตตมีวิภัตติ์ลงในอรรถตติยวิภัตติ์ อธิบายว่า ผู้อัน
สพรหมจารีทั้งหลายผู้บัณฑิตสรรเสริญแล้ว. บทว่า ปโหติ คือ ย่อมอาจ.
บทว่า อติกฺกมฺเมว มูลํ อติกฺกมฺม ขนฺธํ ความว่าธรรมดาแก่นไม้พึงมี
ในลำต้นหรือโคนต้น ล่วงเลยโคนต้นและลำต้นแม้นั้น. บทว่า เอวํ สมฺปทํ
ความว่า ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น อธิบายว่า เป็นเช่นนี้. บทว่า อติสิตฺวา ได้
แก่ ก้าวล่วงแล้ว. บทว่า ชานํ ชานาติ ได้แก่ รู้สิ่งที่พึงรู้นั้นเทียว. บทว่า

ปสฺสํ ปสฺสติ ได้แก่ เห็นสิ่งที่ควรเห็น นั้นเทียว. อนึ่ง บุคคลบางคนถือ
ควานวิปริต แม้เมื่อรู้ก็ว่าไม่รู้ แม้เมื่อเห็นก็ว่าไม่เห็นฉันใด ส่วนพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไม่เช่นนั้น เมื่อทรงรู้ก็ว่ารู้ เมื่อทรงเห็นก็ว่าเห็น อย่างเดียว. พระผู้-
มีพระภาคเจ้านี้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีพระจักษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้นำในทัสสนะ
ชื่อว่าเป็นผู้มีพระญาณ เพราะอรรถว่ากระทำสิ่งที่ทรงรู้แล้ว ชื่อว่ามีธรรม
เพราะอรรถว่ามีสภาวะอัน ไม่วิปริต หรือเพราะทรงมีพระธรรมวินัยที่ทรงคิด
ด้วยพระหฤทัย ทรงเปล่งด้วยพระวาจาเพราะเป็นไปในปริยัติธรรม ชื่อว่า
เป็นพรหม เพราะอรรถว่าประเสริฐที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นผู้มีพระ-
จักษุ เพราะเป็นผู้มีดุจจักษุ เเม้ในบทเหล่านั้น ก็มีเนื้อความอย่างนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้านี้นั้น เป็นผู้เผยแผ่ เพราะทรงเผยแผ่พระธรรม เป็นผู้ประกาศ
เพราะทรงประกาศพระธรรม เป็นผู้ขยายเนื้อความ เพราะความที่พระองค์ทรง
สามารถในการนำแล้วนำอีกซึ่งเนื้อความมาทรงแสดง เป็นผู้ให้อมตธรรม
เพราะพระองค์ทรงบรรลุอมตธรรมแล้วทรงให้ปฏิบัติ. บทว่า อครุกริตฺวา
มีอธิบายว่า ก็พระมหากัจจานะ เมื่อถูกร้องขอบ่อย ๆ ชื่อว่า ทำความหนักใจ
แม้ดำรงอยู่ในสาวกบารมีญาณของตนแสดงทำให้รู้ได้ยาก ดุจขนทรายจากเชิง
เขาพระสิเนรุ ชื่อว่า ความหนักใจเหมือนกัน ขอท่านอย่าทำอย่างนั้น โปรด
ให้พวกกระผมร้องขอบ่อย ๆ แล้วแสดงธรรมให้แม้รู้ได้โดยง่ายแก่พวกกระผม
เถิด ในบทนี้ว่า ยํ โข โน อาวุโส พระมหากัจจานะควรกล่าวว่า ยํ
โข โว
แม้ก็จริง ถึงกระนั้น เมื่อจะสงเคราะห์ภิกษุเหล่านั้นพร้อมกับตน
จึงกล่าวว่า ยํ โข โน ดังนี้. หรือเพราะอุทเทสได้แสดงแล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงแก่พระเถระบ้าง แก่ภิกษุเหล่านั้น ๆ บ้าง
เพราะฉะนั้น ท่านหมายถึงบทนี้ว่า ภควา จึงกล่าวอย่างนั้น อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ทรงแสดงอุเทศโดยย่อใดแลแก่พวกท่าน ดังนี้

ในบทนี้ว่า จกฺขุญฺจาวุโส เป็นต้น มีอธิบายอย่างนี้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็ธรรมดาจักษุวิญญาณย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุปสาทโดยความเป็นนิสสัย
และรูปอันประกอบด้วยสมุฏฐาน 4 อย่าง โดยความเป็นอารมณ์. บทว่า
ติญฺณํ สงฺคติ ผสฺโส ความว่า เพราะประชุมธรรม 3 ประการนั้นจึงเกิด
ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจเกิดขึ้นพร้อมแล้วเป็นต้น เพราะ
อาศัยผัสสะนั้นจึงเกิดเวทนา และด้วยเวทนานั้น บุคคลเสวยอารมณ์อันใด
สัญญาก็จำอารมณ์นั้น สัญญาจำอารมณ์ใด วิตกก็ตรึกถึงอารมณ์นั้นเทียว วิตก
ตรึกถึงอารมณ์ใด เครื่องเนิ่นช้าก็เนิ่นช้าถึงอารมณ์นั้นเทียว. บทว่า ตโตนิ-
ทานํ
ได้แก่ เพราะการณ์มีจักขุรูปเป็นต้นนั้น. บทว่า ปุริสํ ปปญฺจสญฺญา-
สงฺขา สมุทาจรนฺติ
ความว่า ส่วนแห่งเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษผู้
ไม่รอบรู้การณ์นั้น อธิบายย่อมเป็นไปแก่บุรุษนั้น. ในข้อนั้น ผัสสะ เวทนา
และสัญญา เป็นอันเกิดขึ้นพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ พึงเห็นวิตกในจิตที่มีวิตก
มีในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น. ถามว่า ส่วนแห่งเครื่องเนิ่นช้าเกิดพร้อม
กับชวนะ ถ้าเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จะทำการถืออดีตและอนาคตเล่า.
ตอบว่าเพราะเกิดขึ้นอย่างนั้น. เหมือนอย่างว่า เครื่องเนิ่นช้าอันเป็นไปทาง
จักขุทวารเกิดขึ้นแล้ว ในบัดนี้ เพราะอาศัยจักขุ รูป และสัมผัส เวทนา
สัญญา วิตก ฉันใด ท่านพระมหากัจจานะเมื่อจะแสดงความเกิดขึ้นของเครื่อง
เนิ่นช้านั่น ในรูปทั้งหลายอันพึงรู้ด้วยจักษุแม้ที่เป็นอดีตและอนาคตจึงกล่าว
อย่างนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน. ในบทแม้เป็นต้นว่า โสตญฺจาวุโส มีนัยเช่น
เดียวกัน. ก็พึงทราบวินิจฉัยในฉัฏฐทวาร บทว่า มนํ ได้แก่ ภวังคจิต.
บทว่า ธมฺเม ได้แก่ ธรรมารมณ์อันเป็นไปในภูมิสาม. บทว่า มโนวิญฺญาณํ
ได้แก่ อาวัชชนะ หรือ ชวนะ. ครั้นอาวัชชนะถือแล้ว ผัสสะ เวทนาสัญญา
และวิตก ย่อมเกิดพร้อมกับอาวัชชนะ เครื่องเนิ่นช้าเกิดพร้อมกับชวนะ ครั้น

ชวนะถือแล้ว ภวังคจิต ซึ่งมีพร้อมกับอาวัชชนะ ชื่อว่า เป็นมโน แต่นั้น
ผัสสะเป็นต้นแม้ทั้งหมดก็เกิดพร้อมกับชวนะ ส่วนในมโนทวาร อารมณ์แม้
ทั้งหมดอันต่างโดยเป็นอดีตเป็นต้นก็ย่อมมี เพราะฉะนั้น คำนี้ว่า เป็นที่อดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นอันเหมาะสมแล้ว.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงวัฏฏะ. จึงปรารภเทศนาว่า โส วตาวุโส
ดังนี้. บทว่า ผสฺสปญฺญตฺตึ ปญฺญเปสฺสติ ความว่า จักบัญญัติจะแสดง
ผัสสะบัญญัติอย่างนี้ว่า ธรรมอันหนึ่ง ชื่อว่า ผัสสะ ย่อมเกิดขึ้น. ในบททั้ง
ปวงก็มีในนี้. พระเถระครั้นแสดงวัฏฏะทั้งสิ้นด้วยอำนาจอายตนะสิบสองว่า ครั้น
อายตนะนี้มี อายตนะนี้ก็มี ด้วยประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิวัฏฏะ
ด้วยอำนาจปฏิเสธอายตนะสิบสอง จึงปรารภเทศนาว่า โส วตาวุโส จกฺขุสฺมึ
อสติ
ดังนี้. พึงทราบอรรถโดยนัยที่กล่าวแล้วในบทนี้นั้นเทียว.
พระเถระครั้นวิสัชชนาปัญหาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงกล่าวส่งไปว่า
ปัญหาอันสาวกกล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าเป็นผู้สงสัย พระผู้มี-
พระภาคเจ้าองค์นี้ ทรงถือการเปรียบเทียบด้วยสัพพัญญุตญาน ประทับนั่ง
แล้ว ท่านทั้งหลายเมื่อปรารถนา ก็จงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ก็จะหมดความสงสัย ดังนี้ จึงกล่าวคำว่า อากงฺขมานา จ ปน ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อิเมหิ อากาเรหิ ความว่า ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ ด้วยการณ์ เฉพาะ
แห่งความเกิดขึ้นเอง เครื่องเนิ่นช้า และการณ์เกี่ยวกับวัฏฏ และวิวัฏฏ. บทว่า
อิเมหิ ปเทหิ คือ ด้วยประมวลอักขรเหล่านี้. บทว่า พฺยญฺชเนหิ ได้แก่
ด้วยอักขระเฉพาะอย่าง. บทว่า ปณฺฑิโต ความว่า ประกอบพร้อมด้วยความ
เป็นบัณฑิต หรือเป็นบัณฑิตด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ ฉลาดในธาตุ ฉลาดใน
อายตนะ ฉลาดในปัจจยาการ ฉลาดในการณ์ และอการณ์. บทว่า มหาปญฺ-
โญ
ความว่า ถึงพร้อมด้วยปัญญามาก ซึ่งสามารถที่จะกำหนดอรรถะมาก

ธรรมมาก นิรุติมาก ปฏิภาณมาก. บทว่า ยถา ตํ มหากจฺจาเนน
ความว่า กัจจานะพยากรณ์โดยประการใด ทรงหมายถึงพยากรณ์นั้น จึงตรัส
ว่า ตํ. ความว่า พยากรณ์นั้นมหากัจจานะพยากรณ์แล้วโดยประการใด แม้
เราก็พยากรณ์อย่างนั้นเหมือนกัน . บทว่า มธุปิณฺฑิกํ ได้แก่ ขนมหวาน
มาก หรือขนมสัตตุที่ปรุงแล้ว. บทว่า อเสจนกํ ได้แก่ อันพึงชื่นชูใจ
คือ รสที่ปรุงดี ซึ่งไม่ควรกล่าวว่า ในบรรดาเนยใส น้ำอ้อย น้ำผึ้ง และน้ำ
ตาล เป็นต้น ชื่อนี้น้อย สิ่งนี้มาก. บทว่า เจตโส ได้แก่ ผู้มีชาตินักคิด.
บทว่า ทพฺพชาติโก คือ มีสภาพเป็นบัณฑิต. พระเถระเป็นผู้หนักในเหตุ
ผลอย่างยิ่ง จึงคิดว่า นี้เป็นธรรมปริยาย เราจักทูลให้ทรงตั้งชื่อธรรมปริยาย
นั้น ด้วยสัพพญุตญาณของพระทศพลนั้นเทียว จึงทูลคำนี้ว่า ธรรมปริยาย
นี้ ชื่ออะไร. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะธรรมปริยายอ่อนหวาน เหมือน
ขนมหวาน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เธอจงทรงจำธรรม
ปริยายนี้ว่า มธุปิณฑิกปริยาย ดังนี้ เถิดคำที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความ
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามธุปิณฑิกสูตรที่ 8

9. เทวธาวิตักกสูตร


เรื่องวิตก


[251] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ทรงแยกวิตกเป็น 2 ส่วน


[252] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว
ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยกวิตกให้เป็น 2 ส่วน ๆ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออก
เป็นส่วนหนึ่ง และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออก
เป็นส่วนที่ 2. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่อง
เผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัด
อย่างนี้ว่า กามวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันย่อมเป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มัน
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า